พยาธิหัวใจเป็นพยาธิที่อาศัยอยู่ภายในหัวใจและปอดของสุนัขที่ติดโรคนี้ สามารถเข้าสู่หัวใจสุนัขได้ตั้งแต่สุนัขอายุน้อยๆ และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกับสุนัขที่ไม่ได้ป้องกัน ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด การติดต่อของโรคพยาธิหัวใจติดได้จากยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคซึ่งสุนัขจะมีภาวะเสี่ยงถ้าโดนยุงที่มีเชื้อกัด
วงจรชีวิตพยาธิหัวใจ
- สุนัขได้รับตัวอ่อนของพยาธิหหัวใจจากน้ำลายยุงที่กัดสุนัข
- ตัวเต็มวัยพยาธิหัวใจในสุนัขแพร่ตัวอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด
- ตัวอ่อนของพยาธิหัวใจพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัยในหัวใจสุนัข
- ยุงซึ่งเป็นพาหะได้รับตัวอ่อนจากเลือดและสะสมตัวอ่อนอยู่ในน้ำลาย
อาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพยาธิหัวใจ
- ไอเรื้อรังหายใจลำบาก
- เหนื่อยง่าย แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- โลหิตจาง ท้องมาน (มีของเหลวในช่องท้อง)
การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิหัวใจ
สุนัขควรตรวจเลือเพื่อหาพยาธิหัวใจเป็นประจำโดยการตรวจเลือดโดยใช้เลือดเพียงเล็กน้อย
- ใช้ชุดตรวจหาแอนติเจนของพยาธิตัวเต็มวัย (AFEN HW@ test kit)
- เจาะเลือดตรวจหาพยาธิตัวอ่อนในกระแสเลือด
การรักษาพยาธิหัวใจ
สัตวแพทย์สามารถรักษาพยาธิหัวใจกับสุนัขโดยการใช้ยาโดยแต่ละคอร์สการรักษาจะประกอบด้วย
- ยาฉีดเพื่อกำจัดพยาธิตัวเต็มวัย Melarsomine dihydrochroride (Immitticide) ต้องฉีด 2 - 3 ครั้ง
- ยากำจัดพยาธิตัวอ่อนในกระแสเลือด
- ยาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ยาโรคหัวใจ ยาบำรุง
หลังจากการรักษาแล้วสุนัขควรได้รับการป้องกันพยาธิหัวใจด้วย Heartgard และตรวจเลือดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างน้อยปีละ 1 - 2ครั้ง
โรคพยาธิหัวใจสามารถป้องกันได้ 100% เมื่อใช้ Heartgard Plus การให้สุนัขกิน Heartgard Plus เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการป้องกันเพราะเป็นชนิดเคี้ยว มีรสชาติที่สุนัขชื่นชอบ และให้เพียงเดือนละครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังป้องกันพยาธิลำไส้และพยาธิปากขอได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก : Merial |